เมนู

ทางกายแต่ถูกสงฆ์ นาสนะชอบแล้ว ไม่เจรจา สิกขาบท ชน 2 คน และ
ชน 4 คน สตรี น้ำมัน นิสสัคคีย์ ภิกษุ ย่างเท้าเดิน นุ่งผ้า ไม่ใช่ญัตติ
ฆ่าสตรีมิใช่มารดา ฆ่าบุรุษมิใช่บิดา ไม่โจท โจท ตัด พูดจริง ผ้าที่อธิษฐาน
พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ไม่กำหนัด มิใช่เสนาสนะป่า อาบัติทางกาย ทางวาจา
สตรี 3 จำพวก มารดาโกรธให้ยินดี แช่มชื่น ต้องสังฆาทิเสส สองคน
ผ้าไม่ได้ทำกัปปะ ไม่ให้ ไม่ให้ต้องอาบัติหนัก คาถาที่คิดจนเหงื่อไหล เป็น
ปัญหาที่ท่านผู้รู้ให้แจ่มแจ้งแล้วแล.
หัวข้อประจำเรื่อง จบ

เสทโมจนคาถา วัณณนา


วินิจฉัยในเสทโมจนคาถา

พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อสํวาโส มีความว่า ผู้ไม่มีสังวาส ด้วยสังวาส มีอุโบสถ
และปวารณาเป็นต้น.
หลายบทว่า สมฺโภโค เอกจฺโจ ตหึ น ลพฺภติ มีความว่า
การสมโภคที่ไม่สมควร อันภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไม่ได้ในบุคคลนั้น
แต่บุคคลนั้น อันภิกษุณีผู้มารดาเท่านั้น ย่อมได้เพื่อทำการเลี้ยงดูด้วยอาการ
ให้อาบน้ำและให้บริโภคเป็นต้น .
สองบทว่า อวิปฺปวาเสน อนาปตฺติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติ
เพราะนอนร่วมเรือน (แก่ภิกษุณี).

หลายบทว่า ปญฺหา เมสา กุสเลหิ จินฺติตา มีความว่า ปัญหา
ข้อนี้ อันผู้ฉลาดคือบัณฑิตทั้งหลาย คิดกันแล้ว.
คำตอบปัญหานั้น พึงทราบด้วยภิกษุณีผู้เป็นมารดาของทารก.
จริงอยู่ คำตอบนั้น ตรัสหมายถึงบุตรของภิกษุณีนั้น.
คาถาว่าด้วยของไม่ควรจำหน่าย ตรัสหมายถึงครุภัณฑ์. ก็เนื้อความ
แห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในวาระที่วินิจฉัยด้วยภัณฑ์.
หลายบทว่า ทส ปุคฺคเล น วทามิ มีความว่า ข้าพเจ้าไม่กล่าว
ถึงบุคคล 10 จำพวก ที่กล่าวแล้วในเสนาสนขันธกะ.
หลายบทว่า เอกาทส วิวชฺชิย มีความว่า มิได้กล่าวถึงบุคคลควร
เว้น 11 จำพวก ที่ได้กล่าวแล้วในมหาขันธกะ. ปัญหานี้ตรัสหมายถึงภิกษุผู้
เปลือยกาย.
ปัญหาที่ว่า กถํ นุ สิกฺขาย อสาธารโณ นี้ ตรัสหมายถึง
ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม. จริงอยู่ ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผมนี้ ไม่ได้เพื่อ
รักษามีดโกนไว้. แต่ภิกษุเหล่าอื่น ย่อมได้; เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้เคยเป็นช่าง
โกนผม จึงชื่อว่าผู้ไม่ทั่วไม่เฉพาะสิกขา.
ปัญหาที่ว่า ตํ ปุคฺคลํ กตมํ วทนฺติ พุทฺธา นี้ ตรัสหมายถึง
พระพุทธนิรมิต.
สองบทว่า อโธนาภึ วิวชฺชิย มีความว่า เว้นภายใต้สะดือเสีย.
ปัญหานี้ตรัสหมายถึงตัวกพันธะ1 ไม่มีศีรษะ ที่มีตาและปากอยู่ที่อก.
1. ตัวกะพันธะ เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเข้าในพวกอมนุษย์ ท่านว่าเป็น สัตว์ อยู่คงกระพัน
ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก. ทำนองเดียวกับตัวเวตาลกระมัง คำว่าอยู่คงกระพัน ก็ออกมาจากคำนี้.

ปัญหาที่ว่า ภิกขุ สญฺญาจิกาย กุฏึ นี้ ตรัสหมายถึงกุฎีมีหญ้า
เป็นเครื่องมุง.
ปัญหาที่ 2 กล่าวหมายถึงกุฎีที่แล้วด้วยดินล้วน.
ปัญหาที่ว่า อาปชฺเชยฺย ครุกํ เฉชฺชวตฺถุํ นี้ ตรัสหมายถึง
ภิกษุณีผู้ปิดโทษ.
ปัญหาที่ 2 ตรัสหมายถึงอภัพบุคคล มีบัณเฑาะก์เป็นต้น. จริงอยู่
อภัพบุคคลเหล่านั่น ทั้ง 11 จำพวก ต้องปาราชิกในเพศคฤหัสถ์แล้วแท้.
บทว่า วาจา ได้แก่ ไม่บอกวาจา.
หลายบทว่า คิรํ โน จ ปเร ภเณํยฺย มีความว่า ภิกษุไม่พึง
เปล่งแม้ซึ่งสำเนียงด่าบุคคลเหล่าอื่น ด้วยหมายว่า ชนเหล่านี้ จักฟังอย่างนี้
ปัญหานี้ ตรัสหมายถึงมุสาวาทนี้ว่า ภิกษุใด ไม่พึงเปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่
สัมปชานมุสาวาททุกกฏ ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น จริงอยู่ ธรรมดาอาบัติในมโนทวาร
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้นั่งนิ่งด้วยปฏิญญาไม่เป็นธรรม แต่เพราะเหตุที่ไม่เปิด
เผยอาบัติ ซึ่งควรเปิดเผย อาบัตินี้ พึงทราบว่า เกิดแต่การไม่กระทำใน
วจีทวารของภิกษุนั้น.
ปัญหาที่ว่า สงฺฆาทิเสสา จตุโร นี้ ตรัสหมายถึงภิกษุณีผู้ก้าวลง
สู่ฝั่งแม่น้ำ ที่นับเนื่องในละแวกบ้าน ในเวลาอรุณขึ้น. จริงอยู่ ภิกษุณีนั้น
แต่พอออกจากบ้านของตน ในเวลาใกล้รุ่ง ก้าวลงสู่ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งมีประการ
ดังกล่าวแล้ว ในเวลาอรุณขึ้น ย่อมต้องอาบัติสังฆาทิเสส 4 ตัว ซึ่งกำหนด
ด้วยการอยู่ปราศจากเพื่อนตลอดราตรี ไปสู่ละแวกบ้านตามลำพัง ไปสู่ฝั่ง
แม่น้ำตามลำพัง ล้าหลังพวกไปคนเดียว พร้อมกันทีเดียว.

ปัญหาที่ว่า สิยา อาปตฺติโย นานา นี้ ตรัสหมายถึงภิกษุณี 2
รูป ผู้อุปสมบท แต่สงฆ์ฝ่ายเดียว. จริงอยู่ ในภิกษุณี 2 รูปนั้นเป็นปาจิตตีย์
แก่ภิกษุผู้รับ (จีวร) จากมือภิกษุณี ผู้อุปสมบท ในสำนักภิกษุทั้งหลายฝ่าย
เดียว. เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้รับจากมือภิกษุณี ผู้อุปสมบท ในสำนักภิกษุณี
ทั้งหลายฝ่ายเดียว.
หลายบทว่า จตุโร ชนา สํวิธาย มีความว่า อาจารย์ 1 และ
อันเตวาสิก 3 ลักภัณฑะ 6 มาสก. คือ ของอาจารย์ ลักด้วยมือของตนเอง
3 มาสก สั่งให้ลักอีก 3 มาสก เพราะฉะนั้น อาจารย์ต้องถุลลัจจัย. ฝ่ายของ
พวกอันเตวาสิก ลักด้วยมือของตนเองรูปละ 1 มาสก สั่งให้ลักรูปละ 5 มาสก
เพราะเหตุฉะนี้นั้น อันเตวาสิกทั้ง 3 จึงต้องปาราชิกด้วยประการอย่างนี้.
ความย่อในคาถานี้เท่านี้. ส่วนความพิสดาร ได้กล่าวไว้แล้ว ในสังวิธาวหาร-
วัณณนา ในอทินนาทานปาราชิก.
ปัญหาที่ว่า ฉิทฺทํ ตสฺมึ ฆเร นตฺถิ นี้ ตรัสหมายถึงกุฎีที่บัง
ด้วยผ้าเป็นต้น และวัตถุที่กำหนดเป็นเครื่องลาดได้.
คาถาว่า เตลํ มธุํ ผาณิตํ ตรัสหมายถึงความกลับเพศ
คาถาว่า นิสฺสคฺคิเยน ตรัสหมายถึงการน้อมลาภสงฆ์. จริงอยู่
ภิกษุใด น้อมจีวร 2 ผืน จากลาภที่เขาน้อมไปแล้วเพื่อสงฆ์ คือ จีวรผืน 1
เพื่อตน ผืน 1 เพื่อภิกษุอื่น ด้วยประโยคอันเดียวว่า ท่านจงให้แก่ข้าพเจ้า
ผืน 1 แก่ภิกษุนั้นผืน 1. ภิกษุนั้นต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ และสุทธิกปาจิตตีย์
พร้อมกัน.

ปัญหาที่ว่า กมฺมญฺจ ตํ กุปฺเปยฺย วคฺคปจฺจยา นี้ ตรัสหมาย
ถึงคามสีมา ในนครทั้งหลาย มีกรุงพาราณสีเป็นต้น ซึ่งมีประมาณ 12 โยชน์.
คาถาว่า ปทวีติหารมตฺเตน ตรัสหมายเอาการชักสื่อ ก็เนื้อความ
แห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในวัณณนาแห่งสัญจริตสิกขาบทนั่นแล.
ปัญหาที่ว่า สพฺพานิ ตานิ นิสฺสคฺคิยานิ นี้ ตรัสหมายถึงการ
ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซัก, จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ภิกษุณีถือเอามุมไตรจีวร ซึ่ง
กาขี้รดเปื้อนโคลนซักด้วยน้ำ ไตรจีวรที่อยู่ในกายของภิกษุนั่นแล เป็น
นิสสัคคีย์.
หลายบทว่า สรณคมนมฺปิ น จ ตสฺส อตฺถิ มีความว่า แม้
การอุปสมบทด้วยสรณคมน์ ก็ไม่มี. ปัญหานี้ ตรัสหมายถึงการอุปสมบท
ของพระนางมหาปชาบดี.
บาทคาถาว่า หเนยฺย อนริยํ มนฺโท มีความว่า คนเขลาพึง
ฆ่าบุคคลแม้นั้น เป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม ซึ่งไม่ใช่พระอริยบุคคล.
ปัญหานี้ ตรัสหมายถึงบิดาซึ่งกลายเป็นหญิง และมารดาซึ่งกลายเป็นชาย
เพราะเพศกลับ.
ปัญหาที่ว่า น เตนานนฺตรํ ผุเส นี้ ตรัสหมายถึงมารดาบิดา
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ดั่งมารดาของมิคสิงคดาบส และบิดาของสีหกุมารเป็นต้น.
คาถาว่า อโจทยิตฺวา ตรัสหมายถึงการอุปสมบทด้วยทูต.
คาถาว่า โจทยิตฺวา ตรัสหมายถึงการอุปสมบทของอภัพบุคคล มี
บัณเฑาะก์เป็นต้น.

แต่คำที่มาในกุรุนทีว่า คาถาที่ 1 ตรัสหมายถึงกรรมไม่พร้อมหน้า
8 อย่าง ที่ 2 ตรัสหมายถึงกรรมของภิกษุผู้ไม่มีอาบัติ.
สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส อนาปตฺติ ได้แก่ เป็นปาราชิก แก่
ภิกษุผู้ตัดหญ้าและเถาวัลย์ เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ตัดองคชาต.
สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส อนาปตฺติ คือ ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุ
ผู้ปลงผมและตัดเล็บ.
บทว่า ฉาเทนฺตสฺส คือ เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ปิดอาบัติ.
บทว่า อนาปตฺติ คือ ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้มุงเรือนเป็นต้น.
วินิจฉัยในคาถาว่า สจฺจํ ภณนฺโต พึงทราบดังนี้ :-
ภิกษุพูดคำจริง กะสตรีผู้มีหงอน และคนกะเทยว่า เธอมีหงอน เธอ
มี 2 เพศ ดังนี้ ย่อมต้องครุกาบัติ. แต่เป็นลหุกาบัติ แก่ภิกษุผู้กล่าวเท็จ
เพราะสัมปชานมุสาวาท. เมื่อกล่าวเท็จ เพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริง
ต้องครุกาบัติ. เป็นลหุกาบัติ แก่ภิกษุผู้พูดจริง เพราะอวดอุตริมนุสธรรม
ที่มีจริง.
คาถาว่า อธิฏฺฐิตํ ตรัสหมายถึงภิกษุผู้ไม่สละก่อน บริโภคจีวรที่
เป็นนิสสัคคีย์.
คาถาว่า อตฺถงฺคเต สุริเย ตรัสหมายถึงภิกษุผู้มักอ้วก.
คาถาว่า น รตฺตจิตฺโต มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุมีจิตกำหนัด ต้องเมถุนธรรมปาราชิก มีเถยยจิต ต้องอทินนา-
ทานปาราชิก ยังผู้อื่นไห้จงใจเพื่อตาย ต้องมนุสสวิคคหปราชิก. แต่ภิกษุผู้
ทำลายสงฆ์ มิใช่ผู้มีจิตกำหนัดและมิใช่ผู้มีเถยยจิต ทั้งเธอหาได้ชักชวนผู้อื่น

เพื่อตายไม่เลย. แต่ความขาดย่อมมี คือเป็นปาราชิก แก่เธอผู้ให้สลาก. เป็น
ถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้รับสลาก คือ ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์.
ปัญหาที่ว่า คจฺเฉยฺย อฑฺฒโยชนํ นี้ ตรัสหมายถึงโคนต้นไม้ของ
สกุลหนึ่ง เช่นต้นไทรที่งามสล้าง.
คาถาว่า กายิกานิ ตรัสหมายถึงภิกษุผู้จับรวบเส้นผมหรือนิ้วมือ
ของหญิงมากคนด้วยกัน.
คาถาว่า วาจสิกานิ นี้ ตรัสหมายถึงภิกษุผู้กล่าวคำชั่วหยาบโดยนัย
เป็นต้นว่า เธอทุกคนมีหงอน.
หลายบทว่า ติสฺสิตฺถิโย เมถุนํ ตํ น เสเว มีความว่าไม่ได้
เสพเมถุนแม้ในหญิง 3 จำพวกที่ตรัสไว้.
สองบทว่า ตโย ปุริเส มีความว่า จะได้เข้าหาชายทั้ง 3 จำพวก
แล้วเสพเมถุน ก็หาไม่.
สองบทว่า ตโย จ อนริยปณฺฑเก มีความว่า จะได้เข้าหาชน
6 จำพวกแม้เหล่านี้ คือ คนไม่ประเสริฐ 3 จำพวก กล่าวคืออุภโตพยัญชนก
และบัณเฑาะก์ 3 จำพวก แล้วเสพเมถุน ก็หาไม่.
สองบทว่า น จาจเร เมถุนํ พฺยญฺชนสฺมึ มีความว่า ประพฤติ
เมถุนแม้ด้วยอำนาจอนุโลมปาราชิก ก็หาไม่.
ข้อว่า พึงมีความขาดเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ได้แก่ พึงเป็น
ปาราชิก เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ปัญหาดังว่ามานี้ ตรัสหมายถึงอัฏฐวัตถุ-
กปาราชิก (ของภิกษุณี). จริงอยู่ ย่อมมีความขาดเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย
แก่ภิกษุณีนั้น ผู้พยายามอยู่ เพื่อถึงความเคล้าคลึงด้วยกายอันเป็นบุพภาค
แห่งเมถุนธรรม.

คาถาว่า มาตรํ จีวรํ นี้ ตรัสหมายถึงการเตือนให้เกิดสติเพื่อได้
ผ้าวัสสิกสาฏิก ในเวลาหลังสมัย.
ก็แลวินิจฉัยแห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในวัณณนาแห่ง
วัสสิกสาฏิกสิกขาบทนั่นแล.
คาถาว่า กุทฺโธ อาราธโก โหติ ตรัสหมายถึงวัตรของเดียรถีย์.
ความพิสดารแห่งคำนั้น ตรัสแล้วในติตถิยวัตรนั่นเองว่า อัญเดียรถีย์ผู้บำเพ็ญ
วัตร เมื่อคุณของพวกเดียรถีย์ อันชนอื่นสรรเสริญอยู่ โกรธแล้ว ย่อมเป็น
ผู้ยังภิกษุทั้งหลายให้ยินดี. เมื่อคุณแห่งรัตนตรัยอันชนอื่นสรรเสริญอยู่ โกรธ
แล้ว ย่อมเป็นผู้อันภิกษุทั้งหลายพึงติเตียน.
แม้คาถาที่ 3 ก็ตรัสหมายถึงติตถิยวัตรนั้นแล.
คาถาว่า สงฺฆาทิเสสํ เป็นต้น ตรัสหมายถึงภิกษุณี ผู้กำหนัดรับ
บิณฑบาต จากมือของบุรุษผู้กำหนัดแล้ว คลุกกับเนื้อมนุษย์ กระเทียม โภชนะ
ประณีต และอกัปปิยมังสะที่เหลือ แล้วกลืนกิน.
คาถาว่า เอโก อนุปสมฺปนฺโน เอโก อุปสมฺปนฺโน เป็นต้น
ตรัสหมายถึงสามเณรผู้ไปในอากาศ. ก็ถ้าว่า ในสามเณร 2 รูป ๆ หนึ่งเป็น
ผู้นั่งพ้นแผ่นดิน แม้เพียงปลายเส้นผมเดียว ด้วยฤทธิ์. สามเณรนั้นย่อมเป็น
อนุปสัมบันแท้. แม้สงฆ์นั่งในอากาศ ก็ไม่พึงทำกรรมแก่อนุปสัมบันผู้อยู่บน
พื้นดิน. ถ้าทำ, กรรมย่อมกำเริบ.
คาถาว่า อกปฺปกตํ ตรัสหมายถึงภิกษุผู้มีจีวรอันโจรชิงไป. ก็แม้
วินิจฉัยแห่งคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว โดยพิสดารในสิกขาบทนั้นแล.
หลายบทว่า น เทติ นปฺปฏิคฺคณฺหาติ มีความว่า แม้ภิกษุณีผู้
ใช้ก็มิได้ให้, ภิกษุณีผู้รับใช้ก็มิได้รับจากมือของภิกษุณีผู้ใช้.

หลายบทว่า ปฏิคฺคโห เตน น วิชฺชติ มีความว่า ด้วยเหตุ
นั้นแล ภิกษุณีผู้ใช้ก็หาได้มีการรับจากมือของภิกษุณีผู้ใช้ไม่.
สองบทว่า อาปชฺชติ ครุกํ มีความว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นภิกษุณี
ผู้ใช้ ย่อมต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะเหตุที่ภิกษุณีผู้ที่ตนใช้ไปรับบิณฑบาต
จากมือบุรุษผู้กำหนัด.
สองบทว่า ตญฺจ ปริโภคปจฺจยา มีความว่า ก็แลภิกษุณีผู้ใช้
เมื่อจะต้องอาบัตินั้น ย่อมต้องเพราะการบริโภคของภิกษุณีผู้รับใช้นั้น เป็นปัจจัย
จริงอยู่ ย่อมเป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ใช้ ในขณะเสร็จการฉันของภิกษุณีผู้รับ
ใช้นั้น
คาถาที่ 2 ท่านกล่าวหมายถึงการใช้ไปในการรับน้ำและไม้สีฟันของ
ภิกษุณีผู้ใช้นั้นเอง.
หลายบทว่า น ภิกขุนี โน จ ผุเสยฺย วชฺชํ มีความว่าจริง
อยู่ ภิกษุณีต้องสังฆาทิเสสตัวใดตัวหนึ่ง ใน 17 ตัวแล้ว แม้ปิดไว้ด้วยไม่เอื้อ
เพื่อ ก็ไม่ต้องโทษ คือไม่ต้องอาบัติใหม่อื่น เพราะการปิดเป็นปัจจัย เธอ
ย่อมได้ปักขมานัตต์เท่านั้น เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ก็ตาม ไม่ปิดไว้ก็ตาม. ก็แล
บุคคลนี้ แม้จะไม่ใช่ภิกษุณี, แต้ต้องครุกาบัติ มีส่วนเหลือแล้วปิดไว้ ก็ไม่
ต้องโทษ.
ได้ยินว่า ปัญหาที่ว่า ปญฺหา เมสา กุสเลหิ จินฺติตา นี้ ท่าน
กล่าวหมายถึงภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร. จริงอยู่ (สงฆ์) ไม่มีวินัยกรรมกับภิกษุ
นั้น, เพราะเหตุนั้น เธอต้องสังฆาทิเสสแล้ว แม้ปิดไว้ก็ไม่ต้องโทษ ฉะนี้แล.
เสทโมจนคาถา วัณณนา จบ

ปัญจวรรค


กรรมวรรค ที่ 1


กรรม 4


[1,340] กรรม 4 อย่าง คือ อปโลกนกรรม 1 ญัตติกรรม 1
ญัตติทุติยกรรม 1 ญัตติจตุตถกรรม 1
ถามว่า กรรม 4 อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบว่า กรรม 4 อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ 5 คือ โดยวัตถุ 1
โดยญัตติ 1 โดยอนุสาวนา 1 โดยสีมา 1 โดยบริษัท 1.

วัตถุวิบัติ


[1,341] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ อย่างไร
ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้คือ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า
แต่สงฆ์ทำลับหลัง ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรสอบถามก่อนทำ แต่สงฆ์ไม่สอบถามก่อนทำ ชื่อว่ากรรม
ไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ไม่ทำตามปฏิญญา ชื่อว่ากรรม
ไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม
วิบัติโดยวัตถุ